ประเทศไทย และประเทศอื่นๆทั่วโลก ได้เริ่มเปิดประเทศกันแล้ว หลังจากต้องเจอกับช่วงความยากลำบากจากวิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด-19 มานานกว่า 3 ปี ทำให้ตอนนี้ทุกประเทศเริ่มกลับเข้าสู่โหมดฟื้นฟูเศรษฐกิจประเทศ ซึ่งมีอยู่ไม่กี่ประเทศ ที่พึ่งพาการท่องเที่ยวเหมือนกับประเทศไทย แม้ในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา ประเทศไทยยังไม่เปิดรับนักท่องเที่ยวจากต่างแดน แต่คนไทยที่พอมีกำลังทรัพย์ก็ได้ช่วยประเทศ เปลี่ยนมาท่องเที่ยวในประเทศแทน แต่เมื่อเปิดประเทศกันแล้ว ในตอนนี้คนไทยกลุ่มนี้เริ่มกลับมาเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศกันมากขึ้น หลังอัดอั้นกันมานาน

ในช่วงวันหยุดยาวของเทศกาลสงกรานต์ปี 66 จึงเป็นปีที่ดูแล้วจะมีบรรยากาศที่คึกคักทั้งตลาดไทยเที่ยวไทย และไทยเที่ยวนอก เนื่องจากในปี 66 ความกังวลของโควิด-19 จะหมดไปบ้างแล้ว แต่ก็ยังมีส่วนใหญ่ที่ยังสวมหน้ากาก ไม่ใช่แค่ป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 เท่านั้น แต่ก็ยังมีเรื่องฝุ่นพิษพีเอ็ม 2.5 ด้วยในเวลานี้

*เที่ยวสงกรานต์*

ข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย สำรวจคนกรุงเทพฯ พบว่า มีสัดส่วน 44.7% มีแผนเดินทางท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ หลักๆ จะเป็นกลุ่มที่เดินทางท่องเที่ยวเพื่อการพักผ่อน และกลุ่มที่ท่องเที่ยวระหว่างการเดินทางกลับภูมิลำเนาเพื่อเยี่ยมญาติพี่น้อง โดยเกือบทั้งหมดมีแผนท่องเที่ยวในประเทศ และประเมินว่า การเดินทางท่องเที่ยวในประเทศของคนไทยในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 5 วัน ระหว่างวันที่ 13-17 เม.ย.66 จะมีไทยเที่ยวไทย 5.1 ล้านคน เพิ่มขึ้น 28.9% จากปี 65 การใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลสงกรานต์จะสูงถึง 2.3 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 26.3%

แม้ตลาดไทยเที่ยวไทยมีแนวโน้มที่ดี แต่มีปัจจัยต้องเกาะติดไว้ตลอดปี 66 ซึ่งจะมีผลต่อการท่องเที่ยวในประเทศของคนไทย คือเรื่องการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ การเลือกตั้งที่จะมีนโยบายเศรษฐกิจจากพรรคการเมืองต่าง ๆ แม้กำลังซื้อผู้บริโภคส่วนใหญ่จะเริ่มฟื้นตัว แต่ก็ยังไม่แน่นอนจากรายจ่ายประจำวันสูงขึ้น รวมถึงการแข่งขันท่องเที่ยวค่อนข้างสูง และที่สำคัญคือเรื่องค่าใช้จ่ายการเดินทาง หากค่าตั๋วเครื่องบินในประเทศสูง อาจทำให้คนไทยเปลี่ยนจุดหมายไปยังต่างประเทศถ้าหากค่าใช้จ่ายเดินทางถูกลง

เมื่อค่าใช้จ่ายในการเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศถูกลง และความกังวลเรื่องโควิดหมดไป น่าจะทำให้คนไทยสนใจเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งจะกระทบต่อตลาดท่องเที่ยวในประเทศ และพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไปตามกระแสตลอดเวลา ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวยังคงต้องติดตามสถานการณ์ต่อเนื่อง รวมถึงปรับกลยุทธ์การตลาดไปตามปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ที่ปรับเปลี่ยนไป รวมถึงการรักษาคุณภาพการให้บริการเพื่อให้ลูกค้าใช้บริการต่อเนื่อง

*ใช้จ่ายเที่ยว*

ก่อนการระบาดของโควิด-19 คนไทยนิยมเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศกันมาก โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ระบุว่า ในปี 62 มีนักท่องเที่ยวไทยที่ออกไปเที่ยวต่างประเทศสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 10.5 ล้านคน ซึ่งนำเงินออกไปใช้จ่ายในต่างประเทศสูงกว่า 3 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 3 หมื่นบาทต่อคนต่อทริป ถือว่าสูงกว่าค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือนไทย จึงไม่แปลกใจที่คนมักคิดว่าเมื่อคนไทยนำเงินมากมายไปใช้เที่ยวเมืองนอกจะส่งผลให้การใช้จ่ายในประเทศลดลง และอาจกระทบการเติบโตของเศรษฐกิจ

โดยปกติแล้วค่าใช้จ่ายการเดินทางท่องเที่ยวในต่างประเทศจะครอบคลุมทั้งกิจกรรมที่เกิดขึ้นก่อน ระหว่าง และหลังการเดินทาง ซึ่งค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นก่อนและหลังการเดินทางถือเป็นการใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในประเทศ เช่น ค่าเดินทางไป และกลับระหว่างบ้านและสนามบิน ค่าประกันการเดินทาง ค่าตั๋วเครื่องบินสำหรับเที่ยวบินในประเทศ รวมถึงค่าเสื้อผ้า เช่น เสื้อกันหนาว ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นค่าใช้จ่ายที่ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจในประเทศ

*ไทยเที่ยวนอก*

จะเห็นได้ว่าการที่คนไทยไปเที่ยวต่างประเทศมีผลต่อการใช้จ่ายในประเทศทั้งเชิงบวกในเรื่องเพิ่มการใช้จ่าย และเชิงลบ ทดแทนการใช้จ่าย ธปท. ได้มีบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ พบว่า ช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 ค่าใช้จ่ายการเดินทางท่องเที่ยวในต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น 1% ส่งผลให้การใช้จ่ายในประเทศเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.07-0.10%

ส่วนช่วงที่โควิดกำลังระบาด ค่าใช้จ่ายการเดินทางท่องเที่ยวในต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น 1% ยังส่งผลให้การใช้จ่ายในประเทศเพิ่มเช่นกัน แต่เพิ่มขึ้นเพียง 0.02% เพราะว่ามีการบังคับใช้มาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศ ส่งผลให้คนไทยไปเที่ยวต่างประเทศไม่ได้ และบางส่วนหันมาเที่ยวและใช้จ่ายในประเทศมากขึ้น จึงเห็นผลในเชิงทดแทนเพิ่มขึ้น

ปัจจุบันเริ่มเห็นสัญญาณคนไทยออกไปเที่ยวต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งค่าใช้จ่ายการเดินทางท่องเที่ยวในต่างประเทศที่เร่งขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี 65 มาอยู่ที่ 57% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 เห็นว่าคนไทยยังมีความสามารถในการออกไปใช้จ่ายในต่างประเทศได้มากกว่านี้ ซึ่งอาจจะเห็นตัวเลขไทยเที่ยวนอกเพิ่มขึ้นอีก โดยเฉพาะจุดหมายปลายทางยอดนิยมของคนไทยอย่างญี่ปุ่นและไต้หวัน เป็นต้น

*จุดหมายหลักคนไทย*

ในช่วงการแพร่ระบาดโควิดที่กำลังจะคลี่คลาย ทางด้านผู้ให้บริการดิจิทัลวอลเล็ต ยูทริป และธนาคารกสิกรไทย ได้ร่วมสำรวจคนไทยมีแผนเดินทางไปต่างประเทศมากแค่ไหน โดยจุดหมายหลัก 3 อันดับแรก คือ ประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และเกาหลีใต้ ซึ่งมี 70% ที่เป็นกลุ่มอายุ 25-45 ปี พร้อมเดินทางไปต่างประเทศในช่วงที่โควิดกำลังจะคลี่คลายในขณะนั้น ทำให้เห็นว่าคนไทยได้อัดอั้นไปเที่ยวนอกมานาน และเกิดการใช้จ่ายมากขึ้นอย่างแน่นอน

สาเหตุที่คนไทยอยากจะเดินทางไปต่างประเทศ คือ อันดับ 1 อยากไปเที่ยวต่างประเทศเพื่อพักผ่อน เปลี่ยนบรรยากาศ และหาประสบการณ์ใหม่ๆ 83% ตามมาด้วยอันดับ 2 คือการเดินทางเพื่อไปเยี่ยมครอบครัวและเพื่อนๆ ในต่างประเทศ 7% และอันดับ 3 คือการไปต่างประเทศเพื่อเรียนต่อ 5% ไม่เพียงเท่านี้ คนไทยเดินทางไปต่างประเทศมีระยะเวลาที่ยาวนานมากขึ้น โดยมีถึง 40% ประเมินระยะเวลาที่เหมาะสมกับการอยู่ต่างประเทศ 1-2 สัปดาห์

*เลือกจ่ายไร้สัมผัส*

ทวีปเอเชียยังคงเป็นจุดหมายปลายทางหลัก จากข้อมูลยูทริป ประเทศที่คนไทยอยากไปเที่ยวมากที่สุด มีชื่อ ญี่ปุ่นเป็นอันดับ 1 ส่วนอันดับ 2 เป็นสหรัฐ ตามมาด้วยเกาหลีใต้เป็นอันดับที่ 3 สหราชอาณาจักร เป็นอันดับ 4 และสิงคโปร์เป็นอันดับที่ 5 ในขณะที่นักท่องเที่ยวพร้อมช้อปปิ้งมากขึ้น และหลีกเลี่ยงการพกเงินสด โดยผลสำรวจพบว่าคนไทย 20% พร้อมที่จะใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 50% หากได้ไปเที่ยวต่างประเทศ

ที่น่าสนใจคือมากกว่า 90% เลือกการใช้จ่ายแบบไร้สัมผัส ด้วยดิจิทัลวอลเล็ต บัตรเครดิต บัตรทราเวล และหลีกเลี่ยงที่จะพกเงินสดในการไปเที่ยวต่างประเทศ โดยเฉพาะในส่วนดิจิทัลวอลเล็ต และบัตรทราเวล มีอัตราแลกเปลี่ยนที่ดีกว่า และสามารถเติมเงินหรือแลกเงินเพื่อใช้จ่ายได้ตลอดเวลาขณะเดินทาง

*บัตรทราเวล*

หลังจากในประเทศต่างๆได้เริ่มเปิดประเทศจากสถานการณ์โควิดได้คลี่คลาย ก็เริ่มเห็นคนไทยเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศมากขึ้น และอีกหนึ่งอย่างสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยคือ การแลกเงินเพื่อไปใช้จ่ายต่างประเทศ หลายคนนิยมแลกเป็นเงินสดที่ศูนย์แลกเปลี่ยนเงิน ควบคู่กับกับใช้บัตรเครดิต แต่บัตรเครดิตนั้น มีข้อจำกัดในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนที่สูง และยังมีค่าธรรมเนียมในการรูดใช้จ่าย ทำให้ในปัจจุบันธนาคารต่างๆ ได้ออกบริการใหม่ๆ ให้ความคุ้มค่าแก่นักเดินทาง อย่างบัตรทราเวลการ์ด หรือเป็นบัตรเดบิตที่สามารถแลกเงินได้ในแอปพลิเคชัน และนำไปรูด เสียบ แตะใช้จ่ายที่ต่างประเทศได้ในทันที

มาทำความรู้จักบัตรท่องเที่ยวใช้จ่ายต่างประเทศ “ทราเวล การ์ด” คือ บัตรเดบิต หรือ บัตรเติมเงินรูปแบบหนึ่ง ที่สามารถใช้แลกเปลี่ยนสกุลเงินต่างประเทศได้ สามารถรูดจ่ายค่าสินค้าและกดเงินจากตู้เอทีเอ็มต่างประเทศได้เหมือนบัตรเอทีเอ็มและบัตรเครดิตทั่วไป โดยมีค่าธรรมเนียมหรืออัตราแลกเปลี่ยนในราคาพิเศษ เหมาะสำหรับนักเดินทางที่ไม่มีบัตรเครดิต หรือคนที่ไม่อยากพกเงินสดจำนวนมาก ไม่ต้องเสียเวลาไปแลกเงินบ่อยๆ ซึ่งจะสามารถใช้จ่ายทั่วโลกได้สะดวกขึ้นด้วยบัตรใบเดียวคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ตัวอย่าง “บัตรทราเวล การ์ด” ที่มีอยู่ในตลาดประเทศไทย จากหลากหลายธนาคาร ได้แก่ บัตรกรุงไทย ทราเวล การ์ด จากธนาคารกรุงไทย, บัตรพลาเน็ต เอสซีบี จากธนาคารไทยพาณิชย์, ทีทีบี ออลล์ฟรี ธนาคารทหารไทยธนชาต, เจอร์นีย์ การ์ด จากค่ายธนาคารกสิกรไทย, ยูทริป ธนาคารกสิกรไทย และกรุงศรี บอร์ดดิ้ง การ์ด จากธนาคารกรุงศรีอยุธยา

*เรตดีฟรีรูด*คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

โดยส่วนใหญ่บัตรทราเวล การ์ด ที่นำไปใช้จ่ายซื้อสินค้า เครื่องดื่ม อาหาร และบริการอื่นๆ ในต่างประเทศ มักจะฟรีค่าธรรมเนียมการรูดจ่าย และสิ่งนี้คือจุดเด่นของบัตรทราเวล การ์ด ที่แตกต่างจากบัตรเครดิต ที่มีค่าธรรมเนียมในการรูด 2.5% รวมถึงอีกสิ่งหนึ่งที่บัตรทราเวล การ์ด บัตรใช้จ่ายต่างประเทศชนะบัตรเครดิต คือ เรื่องอัตราแลกเปลี่ยนที่ได้เรทดีกว่ามาก เรียกว่ามีเงิน 1 บาทเท่ากันแต่แลกได้สกุลเงินต่างประเทศไม่เท่ากัน

จุดเด่นของบัตรทราเวล การ์ดที่ไม่มีใครเทียบได้ คือ 1.สะดวก ปลอดภัย ไม่ต้องพกเงินสดเยอะๆ ขณะเดินทาง 2.จัดการง่าย แลกเงิน จัดการบัตรทำได้ทันทีผ่านแอปพลิเคชัน 3.ถอนเงินสดที่ตู้เอทีเอ็มในต่างประเทศได้ง่าย 4.รูดใช้จ่ายในต่างประเทศได้โดยไม่ต้องมีค่าธรรมเนียมชาร์จอีก 2.5% และสุดท้าย 5.มีพิเศษจากธนาคารที่ให้บริการ เช่น ฟรีประกันการเดินทาง เป็นต้น

ทำให้หลายคนในตอนนี้ เวลาไปท่องเที่ยวต่างประเทศ ไม่จำเป็นต้องพกเงินสด หรือบัตรเครดิตอีกต่อไป เพราะสามารถสมัครบัตรทราเวลการ์ด แถมยังได้รับเรทค่าเงินคุ้มสุดๆ และยังเหมาะกับคนที่ไม่มีบัตรเครดิต แต่ยังสามารถใช้จ่ายท่องเที่ยวต่างประเทศได้อย่างสะดวกสบาย เพียงแค่มีบัตรทราเวลการ์ดเพียงใบเดียวจบ!.

By admin