การใช้ “ยาทำแท้ง” เริ่มเป็นที่ยอมรับในวงกว้างมากขึ้น หลังคณะกรรมการเภสัชกรรมของกระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่น อนุมัติให้ใช้ “ยามีฟีโกแพ็ก” (MeFeego Pack) เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (21 เม.ย. 66) ซึ่งเป็นยาทำแท้งที่ผลิตโดยไลน์ฟาร์มา บริษัทเวชภัณฑ์ในอังกฤษ ประกอบด้วยเม็ดยา 2 แบบ และต้องรับประทานภายใน 9 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ เป็นประเทศล่าสุดที่ยอมรับในเรื่องนี้คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ก่อนหน้านี้ที่สหรัฐฯ การอนุมัติระงับใช้ยาทำแท้งก็เป็นที่ถกเถียงเช่นกัน หลังศาลแขวงรัฐเทกซัส ประกาศระงับใช้ยาทำแท้งที่ใช้กันอย่างยาวนานให้เป็นโมฆะ มีคำสั่งเบื้องต้นเมื่อวันที่ 7 เมษายนที่ผ่านมา โดยให้เหตุผลว่า องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ หรือ FDA ละเมิดกฎของรัฐบาลกลางที่อนุญาตให้มีการอนุมัติยาบางประเภทอย่างรวดเร็ว อาจทำให้เกิดความผิดพลาดในขั้นตอนการประเมินยาตามหลักวิทยาศาสตร์
การประกาศระงับนี้ ทำให้ประชาชนไม่พอใจอย่างหนักถึงขั้นออกมาประท้วง ทำให้ศาลสูงสหรัฐฯ สั่งระงับประกาศดังกล่าว พร้อมอนุมัติให้สามารถใช้ยาทำแท้งได้ต่อไป ซึ่งยาทำแท้งที่สหรัฐฯ และทั่วโลกนิยมใช้คือ “ยาไมเฟพิสโตน” เป็นยาทำแท้งที่ใช้ร่วมกับ “ยาไมโซพรอสทอล” ต้องรับประทานภายใน 9 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์
และหากย้อนไปเมื่อปี 1988 ฝรั่งเศสและจีน เป็น 2 ชาติแรกที่อนุมัติให้สามารถใช้ยาไมเฟพิสโตนทำแท้งได้ ต่อมาในปี 1991 อังกฤษก็อนุมัติให้ใช้ยาดังกล่าวในการทำแท้งได้ และก่อนที่ญี่ปุ่นจะประกาศอนุมัติใช้ อาร์เจนตินา คือประเทศล่าสุดที่อนุมัติให้ใช้ยาทำแท้งได้ จนทำให้ในปัจจุบัน มีประเทศที่อนุมัติให้สามารถใช้ยาทำแท้งได้กว่า 94 ประเทศทั่วโลก
อย่างไรก็ตาม แม้ญี่ปุ่นจะเป็นประเทศล่าสุดที่อนุมัติให้สามารถใช้ยาทำแท้งได้ แต่ก็มีบางประเทศที่การทำแท้งไม่เป็นที่ยอมรับ และไม่มีการอนุมัติให้ใช้ยาทำแท้ง เช่นกลุ่มประเทศละตินอเมริกา ที่มีการทำแท้งเถื่อนด้วยการใช้ยาไมเฟพิสโตน หรือประเทศยูกันดา ที่ระบุว่าการทำแท้งถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย
เรียบเรียงจาก The Guardian / Washington Post
ภาพจาก AFP